คลินิกโรคเก๊าท์
" โรคเก๊าท์ คืออะไร ??? "
          
        โรคเก๊าท์เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการอักเสบของร่างกายตอบสนองต่อผลึกของสาร Urate monohydrate ซึ่งพบในผู้ป่วยที่มีปริมาณของกรดยูริกสูง ซึ่งภาวะสารยูริกสูงนี้อาจเกิดเนื่องจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วยก็ได้ ส่วนใหญ่โรคนี้มักเป็นกับผู้ชายวัยกลางคน 

โรคนี้พบบ่อยแค่ไหน
        - โรคเก๊าท์เป็นโรคที่พบบ่อย ผู้ชายมักจะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิงประมาณ 5 เท่า อายุส่วนใหญ่ที่เป็นโรคเก๊าท์ในเพศชาย ประมาณ 40-50 ปี ในเพศหญิงมักจะมากกว่า 60 ปี

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการอย่างไร
        - อาการปวดและบวมตามข้อต่างๆ พบบ่อยที่สุดได้แก่  อาการปวด  และบวม  ที่บริเวณข้อต่อขอนิ้วหัวแม่เท้า 

ข้อควรระวัง สำหรับผู้ป่วย 
       
ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ส่วนใหญ่มักจะอ้วน ซึ่งความอ้วนนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิด โรคผิดปกติของหลอดเลือดของหัวใจ ดังนั้นจึงควรรับการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอตรวจวัดระดับไขมันในกระแสเลือด และควรงดสูบบุหรี่

        - ช่วงที่ปวดให้พักดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันควรตกตะกอนของกรดยูริก
        - ให้นอนพัก ยกเท้าสูง
        - หลีกเลี่ยงการยืนหรือการเดิน

อาหารที่ควรรับประทาน
       สามารถกินอาหารที่มีสารพิวรีนต่ำได้ไม่จำกัด เช่น นม ไข่ ธัญพืชต่างๆ ผักสดต่างๆ ผลไม้ อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง กินได้น้อย (หากกินรวมกันต้องไม่เกิน 100 กรัม ต่อวัน) ได้แก่
         1.  เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัวที่ไม่ติดมัน ปลากะพงแดง ปลาหมึก ปู และถั่วลิสง
         2.  ข้าวโอ๊ต
         3.  พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลันเตา สะตอ ดอกกะหล่ำ และผักโขม

อาหารที่ควรรับประทาน
          -  เนื้อสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ เครื่องในสัตว์ต่างๆ หัวใจ ตับอ่อน ไต มันสมองปลา เช่นปลาดุก ปลาอินทรีย์ ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน ไข่ปลา กุ้ง หอย กะปิ
          -  ผัก เช่น เห็ด กระถิน ชะอม ขี้เหล็ก หน่อไม้
          -  ถั่ว เช่น ถั่วแดง ถั่วแระ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง
          -  เบียร์ ขนมปังผสมยีสต์ น้ำต้มกระดูก

การรักษา 
           
ส่วนใหญ่ในระยะแรกของโรคที่มี ข้ออักเสบแพทย์จะรักษาด้วยการให้ยาลดการอักเสบหลังจากที่ข้ออักเสบทุเลาลงแล้วประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ถ้าพบว่าผู้ป่วยมีปริมารของกรดยูริกในร่างกายสูง แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยควบคุมอาการ โดยลดการรับประทานอาหารที่มีสาร
purine ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่ทำให้เกิดกรดยูริก เช่น หน่อไม้ สัตว์ปีก และยออดผัก ต่างๆ และละเว้นการดื่มสุราและเบียร์ ถ้าควบคุมอาหารแล้วไม่ได้ผล ปริมาณยุริยังไม่ลดก็อาจจำเป็นต้องรับประทานยาลดกรดยูริก


โรคที่พบร่วมกับโรคเก๊าท์ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเก๊าท์มากขึ้น
        1.  โรคอ้วน คนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคเก๊าท์ได้มากกว่าคนผอม
        2.  โรคเบาหวาน คนไข้โรคเก๊าท์โดยมากพบว่ามีน้ำหนักตัวมาก และพบโรคเบาหวานได้บ่อย
        3.  ไขมันในเลือดสูง โรคไขมันในเลือดสูงโดยเฉพาะระดับไขมันไตรกรีเซอไรด์พบว่าสูงร้อยละแปดสิบของคนไข้โรคเก๊าท์ทั้งหมด
        4.  ความดันดลหิตสูง  จากการศึกษาวิจัยพบโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคเก๊าท์ได้บ่อย
        5.  โรคหลอดเลือดแข็งตัวผิดปกติ
        6.  ผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารตะกั่ว
        7.  โรคไตวายเรื้อรัง คนไข้ที่เป็นโรคไตที่สภาวะการทำงานของไตลดลงมาก เป็นปัจจัยที่ทำให้ระดับกรดยูริก สูงขึ้น เนื่องจากความสามารถในการขับถ่ายกรดยูริคออกทางปัสสาวะลดลง คนไข้ที่เป็นโรคเก๊าท์อยู่แล้ว และไตเสื่อมลงไปอีกยิ่งทำให้ระดับ กรดยูริกสูงขึ้น คนไข้โรคเก๊าท์ จะเสียชีวิตจาก ภาวะไตวายประมาณร้อยละสิบ
        8.  โรคเลือดชนิด sickle cell anemia, Myeloproliferative disease
       9.  ผู้ป่วยโรคเลือดบางชนิด เช่น โรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จะทำให้เซลล์ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว จนทำทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงมากๆก่อให้เกิดโรคเก๊าท์ ข้ออักเสบ นิ่วที่ไต หรือแม้แต่ตัวกรดยูริกเอาไปอุดตันตามท่อเล็กๆในเนื้อไต ทำให้เกิดไตวายได้