“โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง
ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติได้” โรคเบาหวานเกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือไม่สามารถใช้ฮอร์โมนอินซูลินได้
ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในร่างกายไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ผลที่ตามมา คือ
ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ (มากกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจะทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดไม่ดี
ส่งผลเสียต่ออวัยวะต่างๆ เช่น อวัยวะเพศ สมอง หัวใจและหลอดเลือด ตา ไต ระบบประสาท
ระบบภูมิคุ้มกัน
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง
1. ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ได้แก่ กรรมพันธุ์
อายุที่เพิ่มขึ้น เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
2. ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ได้แก่ อ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ขาดการออกกำลังกาย
รับประทานอาหารหวานมากเกินไป การใช้ยาบางชนิด
อาการเตือนของโรคเบาหวาน
- กินเก่ง หิวเก่ง แต่น้ำหนักลด
- ปัสสาวะบ่อย
และอาจพบว่ามีมดตอมปัสสาวะหรือโถส้วม
- หิวน้ำบ่อย
เนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ
- รู้สึกชาปลายมือ ปลายเท้า แขน ขา
นิ้วมือ นิ้วเท้า
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศโดยเฉพาะผู้ชาย
- เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัว
ถ้าไม่ดูแลตนเอง
ปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงนานๆ จะเป็นอย่างไร
1. อวัยวะเพศ: เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (นกเขาไม่ขัน)
2. สมอง: เกิดภาวะสมองเสื่อม หลอดเลือดที่สมองตีบตัน เวียนหัว อาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์
อัมพาต
3. หัวใจและหลอดเลือด: หลอดเลือดตีบแข็ง ความดันโลหิตสูง เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่ดีเกิดภาวะหัวใจวาย
4. ตา: ต้อกระจก
ต้อหิน ประสาทตาและจอประสาทตาเสื่อม ทำให้ตาพร่ามัว อาจทำให้ตาบอดได้
5. ไต: เกิดภาวะไตวาย
นำไปสู่การคั่งของสารพิษในร่างกาย ทำให้เกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง ซีด อาจถึงตาย
6. ระบบประสาท: มีอาการชา หรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ทำให้เป็นแผลได้ง่ายโดยเฉพาะที่เท้า
7. ภูมิต้านทานโรคต่ำ: ทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย เช่น เชื้อรา (กลากเกลื้อน
เชื้อราที่เล็บและที่อับชื้น) ไวรัส (เริม งูสวัด ไข้หวัด)
แบคทีเรีย (ฝี หนอง แผลรักษาหายยาก) หากติดเชื้อในกระแสเลือดอาจถึง ตาย
8. ภาวะคีโตซีส: พบในรายที่ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากๆ และเป็นเวลานาน
ทำให้มีการคั่งของสารคีโตน
ปัสสาวะบ่อยจะทำให้กระหายน้ำ ความดันโลหิตต่ำ และอาจหมดสติได้
ปฏิบัติการ
10
ข้อ ป้องกันและควบคุมเบาหวาน
1. ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม
- อาหารหวาน เช่น น้ำอัดลม ชาเย็น
กาแฟเย็น ขนมหวาน ผลไม่รสหวานจัด (สับปะรด ส้ม องุ่น ลำไย มะม่วงสุก มะขามหวาน ทุเรียน)
- อาหารมัน เช่น เนื้อติดมัน
อาหารที่มีกะทิหรือไข่แดงเป็นส่วนประกอบ ของทอด ขนมปัง เบเกอรี่ อาหารทะเล
2. เพิ่มการรับประทานผัก ประมาณ 3-4 ถ้วยต่อวัน โดยเฉพาะผักที่มีรสขมและเย็น จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้ เช่น สะเดา มะระ ตำลึง บัวบก ย่านาง ชะพลู และผักใบเขียวอื่นๆ
3. เลือกรับประทานผลไม้ที่ไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง มะละกอ แอปเปิ้ล สาลี่ และผลไม้รสเปรี้ยว
4. เลิกบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
5. ผ่อนคลายความเครียด ทำจิตใจให้สบาย
6. ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 แก้วหรือ 2 ลิตรต่อวัน
7. พักผ่อนให้เพียงพอ ประมาณ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
8. ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายจนเหนื่อย อย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์
9. ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม สามารถคำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้
- ผู้ชาย น้ำหนักมาตรฐานเท่ากับ [ 0.9 × (ส่วนสูง – 152) ] + 48.1
- ผู้หญิง น้ำหนักมาตรฐานเท่ากับ [ 1.1 × (ส่วนสูง – 152) ] + 45.5
10. สังเกตอาการเตือน และตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ ปีละ 1 ครั้ง
หากเป็นโรคเบาหวานแล้วควรดูแลตัวเองอย่างไร
1 .ดูแลตนเองตามปฏิบัติการ 10
ข้อ
2. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
ไม่ควรหยุด เพิ่มหรือลด ขนาดยาเอง
3. มาตรวจตามนัด
4. หากมีอาการผิดปกติควรแจ้งแพทย์ทุกครั้ง
5. หมั่นดูแลรักษาเท้าอย่าให้เกิดแผลหรือการอักเสบ
เจาะลึกค่าน้ำตาลที่ควรรู้
โดยผู้ป่วยเบาหวานมีเป้าหมายการลด Hb A1c ที่น้อยกว่า 7 mg% หากเป็นไปได้ควรน้อยกว่า 6.5 mg% เพราะสามารถลดการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ในระยะยาวได้
คำถามที่พบบ่อย
1. ทำไมฉัน/ผมถึงเป็นโรคเบาหวาน
ตอบ : สาเหตุหลักๆ ของโรคเบาหวาน คือ อาหารและพฤติกรรม ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวาน
ไม่ว่าจะประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2
เราแนะนำให้คุณเริ่มต้นด้วยการสังเกตการทานอาหารของคุณ อธิบายโรคนี้ง่ายๆ คือ ร่างกายคุณมีน้ำตาลอยู่ในเลือดมาก
เพราะร่างกายของคุณ หรือเจาะจงเลยคือ ตับอ่อนของคุณ ผลิตอินซูลินออกมาไม่เพียงพอ
ซึ่งเหตุผลก็คือ อวัยวะของคุณถูกภูมิคุ้มกันตัวคุณเองจู่โจม (เบาหวานประเภทที่ 1)
หรืออวัยวะของคุณทำงานหนักมากจนเสื่อมลง (เบาหวานประเภทที่ 2)
2. ควบคุม หรือหยุดการทานของหวานแล้ว
ทำไมโรคเบาหวานไม่หายเสียที
ตอบ : การทานของหวาน เป็นเพียงหนึ่งในสาเหตุเท่านั้น
ซึ่งช่วยทำให้อาการเบาหวานดีขึ้นค่ะ แต่ควรจะปรับอาหารอย่างอื่นร่วมไปด้วย
รวมไปถึงการปรับสมดุลร่างกาย และการขับพิษก็สำคัญเช่นกันค่ะ
3. ตอนนี้ฉีดอินซูลินอยู่ จะรักษาหายได้ไหม
ตอบ : ได้ค่ะ เริ่มจากการปรับอาหาร
และเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพโดยเร็วที่สุด
ก่อนที่เซลล์และอวัยวะคุณจะเสื่อมสภาพลงมากกว่านี้
เราได้เห็นผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดอินซูลินอาการดีขึ้นมากภายใน 1 เดือนเท่านั้นค่ะ
4. ได้เริ่มดื่มน้ำสกัดสมุนไพรแล้ว แต่ทำไมค่าน้ำตาลถึงขึ้น
ตอบ : ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมานานแล้ว อาจจะมีอาการแบบนี้ได้
ซึ่งไม่ต้องกังวลค่ะ
น้ำสกัดสมุนไพรของเราจะช่วยฟื้นฟูอวัยวะและปรับสมดุลการผลิตอินซูลินให้ดีขึ้น
เมื่อระดับอินซูลินเปลี่ยนแปลง ก็จะเริ่มจับและนำส่งน้ำตาลที่ตกค้างในกระแสเลือดไปยังเซลล์ต่างๆ
เพื่อใช้เป็นพลังงาน ดังนั้น น้ำตาลที่ตกค้างอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ในตา
หรือในข้อ ก็จะค่อยๆ ถูกปล่อยออกมาเข้าสู่กระแสเลือด
ซึ่งในตอนนี้เป็นตอนที่ร่างกายกำลังปรับสมดุล และเป็นสิ่งที่ดีนะคะ ระยะนี้ส่วนใหญ่แล้วจะไม่เกิน
1 เดือน ขึ้นอยู่กับว่าร่างกายมีน้ำตาลสะสมไว้มากแค่ไหนค่ะ