พัฒนาการเด็ก
พัฒนาการเด็กสำคัญแค่ไหน ?

       เมื่อแรกเกิด ลูกก็พร้อมที่จะเรียนรู้กับทุกสิ่งใหม่ๆ รอบตัว การเลี้ยงดูลูกให้เติบโตสมบูรณ์และมีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน ตั้งแต่ก้าวแรกที่เกิดมา เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องพร้อมที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยของคุณ
พัฒนาการเด็ก

เมื่อแรกเกิด ลูกก็พร้อมที่จะเรียนรู้กับทุกสิ่งใหม่ ๆ รอบตัว การเลี้ยงดูลูกให้เติบโตสมบูรณ์ และ มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านตั้งแต่ก้าวแรกที่เกิดมา  เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องพร้อมที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยของคุณ

คลินิกพัฒนาการเด็ก แผนกกุมารเวชกรรม ตอบทุกคำถามเรื่องพัฒนาการเด็ก โดยกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม จะประเมินพัฒนาการของลูก และ ให้คำปรึกษาแก่คุณพ่อคุณแม่เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการ และ การเลี้ยงดู หากเด็กคนใดมีพัฒนาการ และ พฤติกรรมไม่สมวัย มีปัญหาด้านการเรียน หรือ มีปัญหาด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม รวมถึงเด็กที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านพัฒนาการ เช่น เป็นโรคลมชัก คลอดก่อนกำหนด ดาวน์ซินโดรม ออทิสติก ทางคลินิกพัฒนาการเด็กมีทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกันให้การดูแลรักษา เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

พัฒนาการเด็กตามวัย 1 เดือน ถึง 6 ปี

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 1 เดือน
       -  สบตา
       -  จ้องหน้าแม่

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
       -  กินนมแม่อย่างเดียว
       -  ยิ้มแย้ม มองสบตา เล่นพูดคุยกับลูก
       -  เอียงหน้าไปมาช้าๆ ให้ลูกมองตาม
       -  อุ้มบ่อยๆ อุ้มพาดบ่าบ้าง 

พัฒนาการของเด็กวัย 2 เดือน
    - คุยอ้อแอ้ ยิ้ม
    - ชันคอในท่าคว่ำ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
      -  กินนมแม่อย่างเดียว
      -  เล่นกับลูกโดยแขวนของสีสด ห่างจากหน้าลูกประมาณ 1 ศอกให้ลูกมองตาม
      -  พูดคุยทำเสียงต่างๆ และร้องเพลง
      -  ให้ลูกนอนคว่ำในที่นอนที่ไม่นุ่มเกินไป

พัฒนาการของเด็กวัย 3 เดือน
    - ชันคอได้ตรงเมื่ออุ้มนั่ง
    - ส่งเสียงโต้ตอบ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
      -  กินนมแม่อย่างเดียว
      -  อุ้มท่านั่ง พูดคุยทำเสียงโต้ตอบกับเด็ก
      -  ให้ลูกนอนเปล หรืออู่ ที่ไม่มืดทึบ

พัฒนาการของเด็กวัย 4 เดือน
    - ไขว่คว้า
    - หัวเราะเสียงดัง
    - ชูคอตั้งขึ้นในท่าคว่ำ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
      -  กินนมแม่อย่างเดียว
      -  จัดที่ที่ปลอดภัยให้เด็กหัดคว่ำ คืบ
      -  เล่นกับลูกโดยชูของเล่นให้ลูกไขว่คว้า
      -  ชมเชย ให้กำลังใจลูก เมื่อลูกทำได้

พัฒนาการของเด็กวัย 5 เดือน
    -  คืบ
    - พลิกคว่ำ พลิกหงาย

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
     -  หาของเล่นสีสดชิ้นใหญ่ที่ปลอดภัยให้หยิบ จับ และให้คืบไปหา
     -  พ่อแม่ช่วยกันพูดคุย โต้ตอบ ยิ้มเล่นกับเด็ก
     -  พูดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่กับเด็ก เช่น อาบน้ำ กินข้าว

พัฒนาการของเด็กวัย 6 เดือน
   - คว้าของมือเดียว
   - หันหาเสียงเรียกชื่อ
   - ส่งเสียงต่างๆ โต้ตอบ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
    -  เวลาพูดให้เรียกชื่อเด็ก
    -  เล่นโยกเยกกับเด็ก
    -  หาของให้จับ

พัฒนาการของเด็กวัย 7 เดือน
   - นั่งทรงตัวได้เอง
   - เปลี่ยนสลับมือถือของได้

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
     -  อุ้มน้อยลง ให้เด็กได้คืบและนั่งเล่นเอง โดยมีคุณแม่คอยระวังอยู่ข้างหลัง
     -  ให้เล่นสิ่งที่มีสี และขนาดต่างกัน เช่น ลักษณะผิวเรียบ - หยาบ อ่อน - แข็ง
     -  ให้หยิบจับสิ่งของ เข้า - ออก จากถ้วย หรือกล่อง

พัฒนาการของเด็กวัย 8 เดือน

   - มองตามของที่ตก

   - กลัวคนแปลกหน้า

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
     -  กลิ้งของเล่นให้เด็กมองตาม
     -  พูดและทำท่าทางเล่นกับเด็ก เช่น จ๊ะเอ๋ จับปูดำ แมงมุม จ้ำจี้ ตบมือ

พัฒนาการของเด็กวัย 9 เดือน
   -  เข้าใจเสียงห้าม
   -  เล่นจ๊ะเอ๋ ตบมือ
   -  ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือหยิบของชิ้นเล็ก

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
      -  หัดให้เกาะยืน เกาะเดิน
      -  หัดให้เด็กใช้นิ้วหยิบ จับของกินชิ้นเล็กเข้าปาก เช่น ข้าวสุก มะละกอหั่น มันต้มหั่น ฟักทอง ต้ม
      -  ห้ามใช้ถั่ว หรือของที่จะสำลักได้ 

พัฒนาการของเด็กวัย 10 เดือน
    - เหนี่ยวตัว เกาะยืน เกาะเดิน
    - ส่งเสียงต่างๆ "หม่ำ หม่ำ", "จ๊ะ จ๋า"

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
      -  จัดที่ให้เด็กคลาน และเกาะเดินอย่างปลอดภัย
      -  เรียกเด็ก และชูของเล่นให้เด็กสนใจเพื่อลุกขึ้นจับ

พัฒนาการของเด็กวัย 1 ปี
   - ตั้งไข่
   - พูดเป็นคำที่มีความหมาย เช่น พ่อ แม่
   - เลียนเสียง ท่าทางและเสียงพูด

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
    -  ให้เด็กมีโอกาสเล่นสิ่งของโดยอยู่ในสายตาผู้ใหญ่
    -  พูดชมเชย เมื่อเด็กทำสิ่งต่างๆ ได้
    -  พูดคุย ชี้ และบอกส่วนต่างๆ ของร่างกาย

พัฒนาการของเด็กวัย 1 ปี 3 เดือน
   - เดินได้เอง
   - ชี้ส่วนต่างๆ ของร่างกายตามคำบอก
   - ดื่มน้ำจากถ้วย

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
    -  พูดคุย โต้ตอบ ชี้ชวนให้เด็กสังเกตของและคนรอบข้าง
    -  ให้หาของที่ซ่อนใต้ผ้า
    -  ชี้ให้ดูภาพ และเล่าเรื่องสั้นๆ ให้เด็กฟัง
    -  ให้เด็กหัดตักอาหาร ดื่มน้ำจากถ้วย และแต่งตัวโดยช่วยเหลือตามสมควร

พัฒนาการของเด็กวัย 1 ปี 6 เดือน
   -  เดินได้คล่อง
   -  รู้จักขอ และทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
     -  ให้โอกาสเด็ก เดิน วิ่ง และหยิบจับสิ่งของโดยระมัดระวังความปลอดภัย
     -  ร้องเพลง คุยกับเด็กเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว เล่นเกมส์ง่ายๆ
     -  จัดหา และทำของเล่นที่มีสี และรูปทรงต่างๆ

พัฒนาการของเด็กวัย 1 ปี 8 เดือน
   -  พูดแสดงความต้องการ
   -  พูด 2-3 คำ ติดต่อกัน
   -  เริ่มพูดโต้ตอบ
   -  ขีดเขียนเป็นเส้นได้

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
    -  เมื่อเด็กพยายามทำสิ่งใด ควรสนใจ ชี้แนะ และให้กำลังใจ โดยให้เด็กคิดเอง และทำเอง บ้าง
    -  ฝึกลูกให้ช่วยตัวเอง เช่น ขับถ่ายให้เป็นที่ รู้จักล้างมือก่อนกินอาหารและหลังขับถ่าย
    -  ให้เด็กมีส่วนร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ในบ้าน

พัฒนาการของเด็กวัย 2 ปี
   - เรียกชื่อสิ่งต่างๆ และคนที่คุ้นเคย
   -  ตักอาหารกินเอง

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
    -  คุณพ่อคุณแม่ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีตลอดเวลา และอบรมสั่งสอนลูกด้วยเหตุผลง่าย
    -  สอนลูกให้รู้จักทักทาย ขอบคุณ และขอโทษในเวลาที่เหมาะสม

พัฒนาการของเด็กวัย 2 ปี 6 เดือน
   -  ซักถาม "อะไร" พูดคำคล้องจอง
   - ร้องเพลงสั้นๆ
   - เลียนแบบท่าทาง
   - หัดแปรงฟัน

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
   -  พาเด็กเดินรอบบ้าน และบริเวณใกล้ๆ ชี้ชวนให้สังเกตสิ่งที่พบเห็น
   -  หมั่นพูดคุยด้วยคำพูดที่ชัดเจน และตอบคำถามของลูกโดยไม่ดุ หรือแสดงความรำคาญ
   -  ชวนลูกแปรงฟัน เมื่อตื่นนอนและก่อนนอนทุกวัน

พัฒนาการของเด็กวัย 3 ปี
   - บอกชื่อ และเพศตนเองได้
   - รู้จักให้และรับ รู้จักรอ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
    -  สนับสนุนให้ลูกพูด เล่าเรื่อง ร้องเพลง ขีดเขียน และทำท่าทางต่างๆ
    -  สังเกตท่าทีความรู้สึกของเด็ก และตอบสนองโดยไม่บังคับ หรือตามใจลูกเกินไป ควรค่อยๆ รู้จักผ่อนปรน
    -  จัดหาของที่มีรูปร่าง และขนาดต่างๆ ให้เด็กเล่น หัดขีดเขียน หัดนับแยกกลุ่ม และเล่นสมมุติ

พัฒนาการของเด็กวัย 4 ปี
   -  ซักถาม "ทำไม"
   -  ล้างหน้า แปรงฟันเองได้
   -  บอกขนาด ใหญ่ เล็ก ยาว-สั้น
   -  เล่นรวมกับคนอื่น รอตามลำดับก่อนหลัง
   -  ไม่ปัสสาวะรด

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
    -   ตอบคำถามของเด็ก
   -   เล่าเรื่องจากภาพ คุย ซักถาม เล่าเรื่อง
   -   ฝึกให้ลูกใส่เสื้อผ้า ติด และกลัดกระดุม รูดซิป

พัฒนาการของเด็กวัย 4 ปี 6 เดือน
   -  รู้จักสีถูกต้อง 4 สี
   -  ยืนทรงตัวขาเดียว และเดินต่อเท้า
   -  เลือกของที่ต่างจากพวกได้
   -  นับได้ 1-10 รู้จักค่าจำนวน 1-5

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
    -   ให้ลูกหัดเดินบนไม้กระดานแผ่นเดียว หัดยืนทรงตัวขาเดียว และกระโดดข้ามเชือก
    -   เล่นทาย "อะไรเอ่ย" กับลูกบ่อยๆ
    -   ฝึกหัดนับสิ่งของและหยิบของตามจำนวน 1-5 ชิ้น

พัฒนาการของเด็กวัย 5 ปี
   -  พบผู้ใหญ่รู้จักไหว้ทำความเคารพ
   -  รู้จักขอบคุณ
   -  รู้จักเล่าเรื่องสั้นๆ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
   -   ให้ลูกช่วยงานบ้านง่ายๆ และพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ทำ เช่น ซักผ้า
   -   ฝึกให้ลูกสังเกต รู้จักเปรียบเทียบสิ่งที่แตกต่าง และจัดกลุ่มสิ่งที่เหมือนกัน

พัฒนาการของเด็กวัย 6 ปี
   -  นับได้ 1-30 รู้ค่าจำนวน 1-10
   -  รู้จักซ้าย ขวา
   -  เริ่มอ่านและเขียนตัวอักษรและตัวเลข

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
   -   ให้ลูกนับสิ่งของที่พบเห็น หัดอ่าน เขียนรูป และตัวอักษร
   -   พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับบุคคลต่างๆ และประเพณีท้องถิ่น
   -   ห้ลูกวาดรูปตามความคิดของตน และเล่าเรื่องจากรูปที่วาด หรืออธิบายสิ่งที่ตนพบเห็น

โปรแกรมพัฒนาการเด็ก 

ตรวจวัดพัฒนาการของเด็กแต่ละคน เพื่อบอกความถนัดทั้ง 5 ด้าน ได้แก่

  • เชาว์นปัญญา (Cognition)
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่(Gross Motor)และกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor)
  • การใช้สายตาในการรับข้อมูลแก้ปัญหา(Visual Reception)
  • การใช้ภาษา(Expressive Language)
  • ความเข้าใจภาษา(Receptive Language)

 ตรวจวัดทักษะในการบริหารจัดการ เพื่อบอกความสามารถของเด็กในด้านต่างๆ ได้แก่

  • การวางแผน (planning)
  • ความยืดหยุ่น (Shift)
  • การควบคุมอารมณ์ (emotional control)
  • การยับยั้งชั่งใจ (inhibition control)
  • การจดจำเพื่อนำมาใช้งานในภายหลัง (Working Memory)

คำถามที่พบบ่อย

   1. ลูกสาว 7 เดือน กลัวเสียงดังมากๆ เช่น เสียงคนพูด เครื่องเสียงตามงานต่างๆ หรือแม้กระทั่งเสียงทีวีที่เปิดดังมากๆ ทุกครั้งที่ได้ยินลูกจะร้องไห้สะอึกสะอื้น ร้องไม่หยุดจนกว่าเราจะพาออกจากที่นั้นๆ  ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร และควรทำอย่างไร (เคยพาไปงานบวชญาติ แต่พอเข้าไปในงานที่เปิดดนตรีเสียงดังน้องก็ร้องไม่หยุด จนสุดท้ายต้องพากลับบ้าน )

    คำตอบ  เป็นเรื่องปกติค่ะ เพราะธรรมชาติของแต่ละคนรับรู้ได้แตกต่างกันอยู่แล้ว  บางคนทนเสียงสูงๆ ไม่ได้ บางคนทนเสียงกังวานไม่ได้ บางคนทนความหนาวเย็นได้ แต่บางคนอาจทนไม่ได้เลย นั่นเป็นเพราะความสามารถในการรับรู้ข้อมูล และความไวหรือความทนต่อสภาพแวดล้อมนั้นแตกต่างกันในแต่ละคน แต่ขอให้ตรวจเช็กพัฒนาการ 4 ด้าน (พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อใหญ่ (คืบ คลาน ยืน เดิน), พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็ก (การใช้มือ นิ้ว การหยับจับของ), พัฒนาการทางการพูดและการสื่อสาร และพัฒนาการในการช่วยตัวเองและเข้าสังคม) ว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ ตามสมุดสุขภาพเด็กที่แม่ทุกคนจะได้