คลินิกใจสั่น
ใจสั่น เป็นโรคอะไร

         ใจสั่น (Palpitation) เป็นอาการที่รู้สึกว่าหัวใจเต้นไม่เป็นปกติ การเต้นของหัวใจขาดหายไป เต้นไม่เป็นจังหวะ เต้นไม่สม่ำเสมอ หรือเต้นเร็วกว่าปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด ออกกำลังกายหนักเกินไป ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด หรือสาเหตุรุนแรงที่พบได้น้อย


อาการใจสั่นสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด
      โดยมีอาการที่เกิดขึ้น ได้แก่
      - รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วหรือแรงกว่าปกติ
      - หัวใจเต้นผิดจังหวะ
      - หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
      - รู้สึกว่าการเต้นของหัวใจขาดหายไป

      อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ที่ลำคอหรือช่องคอ เช่นเดียวกันกับบริเวณหน้าอก นอกจากนั้นอาการใจสั่นอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่ากำลังเกิดภาวะทางหัวใจที่อันตราย หากมีอาการต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์
      - เวียนศีรษะ
      - หายใจตื้น
      - เจ็บหรือแน่นหน้าอก
      - หน้ามืดหรือเป็นลม

สาเหตุของใจสั่น
      - นอนหลับไม่เพียงพอ
      - ออกกำลังกายที่ต้องใช้กำลังมาก
      - รับประทานอาหารปริมาณมากหรือมีรสเผ็ด
      - ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชาและกาแฟ
      - ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
      - สูบบุหรี่

เหตุปัจจัยทางด้านจิตใจและอารมณ์

      - ความเครียดและความวิตกกังวล
      - ความกลัว ความตื่นเต้น
      - อาการตื่นตระหนก (Panic)  

เหตุจากยารักษาโรค
      - ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง เช่น ยาไฮดราลาซีน (Hydralazine) หรือยาไมนอกซิดิล (Minoxidil)
      - ยาพ่นรักษาหอบหืดบางชนิดที่มีส่วนประกอบของสารกระตุ้น เช่น ซาลบูทามอล (Salbutamol)
      - ยาแก้ไอหรือยาแก้หวัด ที่มีส่วนประกอบของยาซูโดเอฟีดรีน (Pseudoephedrine)
      - ยาแก้แพ้ เช่น เทอร์เฟนาดีน (Terfenadine)
      - ยาปฏิชีวนะ เช่น คลาริโธรมัยซิน (Clarithromycin) หรือยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin)
      - ยารักษาภาวะซึมเศร้า เช่น ไซตาโลแพรม (Citalopram)
      - ยาต้านเชื้อรา เช่น ไอทราโคนาโซล (Itraconazole)
      - ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรือสมุนไพรบางชนิด

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
      - การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างที่มีประจำเดือน
      - ระหว่างตั้งครรถ์
      - วัยหมดประจำเดือน

จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
      - หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) ปัญหาที่เกิดขึ้นกับหัวใจ ซึ่งทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติหรือเต้นไม่เป็นจังหวะ
      - หัวใจห้องบนเต้นถี่ (Atrial Flutter)
      - ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) อื่น ๆ เช่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (Tachycardia) และหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia)

เหตุจากภาวะทางหัวใจอื่น ๆ
      - ลิ้นหัวใจมีปัญหา เช่น ลิ้นหัวใจยาว (Mitral Valve Prolapse)
      - โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดที่มีกล้ามเนื้อหนากว่าปกติ (Hypertrophic Cardiomyopathy)
      - โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)
      - หัวใจวาย เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ

ภาวะทางร่างกายอื่น ๆ
      - ความผิดปกติของระดับเกลือแร่  (Electrolyte) ในร่างกาย
      - ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือทำงานมากเกินไป (Hyperthyroidism)
      - ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycaemia)
      - ภาวะโลหิตจาง (Anaemia)
      - ภาวะร่างกายขาดน้ำ
      - มีไข้สูง ตั้งแต่ 38-41 องศาเซลเซียส
      บางรายอาจมีอาการใจสั่นหลังจากรับประทานอาหารมื้อหนักที่มีไขมัน น้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรตอยู่มาก หรือรับประทานอาหารที่มีผงชูรส โซเดียม หรือสารไนเตรทผสมอยู่มาก และอาจเกิดอาการได้หลังจากที่รับประทานอาหารบางชนิดหรือเกิดภาวะไวต่ออาหาร

การวินิจฉัยใจสั่น
        การวินิจฉัยใจสั่น แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วย เช่น กิจวัตรประจำวัน ระดับความเครียด และยารักษาโรคที่กำลังใช้อยู่ จากนั้้นแพทย์จะตรวจร่างกายและอาจให้ทำการตรวจเพิ่มเติ่ม ได้แก่

วินิจฉัยเพื่อหาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
        การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) ช่วยตรวจการทำงานของหัวใจ เป็นการวินิจฉัยเบื้องต้นว่าผู้ป่วยมีโรคหัวใจหรือภาวะทางหัวใจอื่น ๆ หรือไม่  ใช้อุปกรณ์บันทึกจังหวะการเต้นของหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Monitor) เป็นอุปกรณ์พกพาที่ใช้เพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งจะช่วยหาความผิดปกติจังหวะการเต้นของหัวใจและการทำงานของหัวใจตลอดทั้งวัน
        การตรวจด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology Study) เป็นการตรวจการทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อหาจุดกำเนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถพิจารณาได้ว่าควรใช้ยาหรือวิธีใดในการรักษาวินิจฉัยเพื่อหาเหตุอื่น ๆ โดยอาจพิจารณาทำเฉพาะเมื่อสงสัยว่าเกิดจากสาเหตุใดเป็นพิเศษ ขึ้นกับอาการของแต่ละคน
       ตรวจเลือด เช่น ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ใจสั่น
       ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) เป็นการตรวจดูประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจด้วยการใช้การสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูง
       เอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray)
       การทดสอบสมรรถภาพหัวใจ (Stress Test) เป็นการตรวจสอบการทำงานของหัวใจขณะที่ให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย
       ตรวจด้วยการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram) เป็นวิธีที่ใช้เพื่อหาความผิดปกติหรือตรวจสอบการอุดกั้นของการไหลเวียนโลหิตของ หลอดเลือดหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การรักษาใจสั่น
       การรักษาใจสั่นจะรักษาตามเหตุ โดยส่วนใหญ่หากมีอาการไม่มากก็มักจะหายไปได้เองและแพทย์อาจไม่สามารถหาสาเหตุได้ ซึ่งกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องรักษาและแพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ให้เกิดอาการ แพทย์จะแนะนำการรักษาเบื้องต้น โดยให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงหรือหยุดเหตุในชีวิตประจำวันที่ทำให้ใจสั่น เช่น
       - งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
       - หยุดสูบบุหรี่
       - หยุดใช้ยาที่มีสารกระตุ้นบางชนิด เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้หวัด สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริม

       อาการใจสั่นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มีทั้งสาเหตุที่สามารถป้องกันได้และสาเหตุที่ป้องกันไม่ได้ ที่ป้องกันไม่ได้ เช่น การป้องกันไม่ให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจพิการแต่กำเนิด ส่วนสาเหตุที่ป้องกันได้ อย่างการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุให้ใจสั่น

ขอขอบคุณ : https://goo.gl/Tk1v87