คลินิกไทรอยด์
ไทรอยด์ คืออะไร

          ไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ ซึ่งต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ รวมทั้งควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่นทั้งร่างกาย เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติจะทำให้ร่างกายแปรปรวน

สาเหตุใดที่ทำให้เกิดโรคไทรอยด์
        - เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน(หรือเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดหรืออิมมูนซิสเต็ม)

        - พันธุกรรม คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคไทรอยด์

ประเภทความผิดปกติของไทรอยด์ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์มี 3 แบบ คือ
        1.  ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมามากเกินความจำเป็น (ไฮเปอร์) สำหรับโรคไทรอยด์ที่เกิดจากฮอร์โมนไทรอยด์เกิน จะทำให้มีอาการ หัวใจเต้นแรง ใจสั่น นอนไม่หลับ และน้ำหนักลด ที่สำคัญอารมณ์แปรปรวนบ่อย
       2.  ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมาน้อยกว่าตามความต้องการของร่างกายคนที่ฮอร์โมนไทยรอยด์ขาด จำทำให้มีอาการ ชีพจรจะเต้นช้า ขี้หนาว ความจำเสื่อม บวม ท้องผูก หากเป็นมากๆ และนานๆ จะทำให้สมองเสื่อม ความจำเลอะเลือน ถ้าเป็นในเด็กจะทำให้ตัวเล็กแคระแกรน และเป็นโรคเอ๋อได้
         3.  ฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมาตามปกติ แต่เกิดความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์และอาจส่งผลกระทบต่อการหลั่งปริมาณฮอร์โมนได้บ้างเช่นกัน คือ นิวรัล เพลต 

 ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์มีผลต่อความอ้วนและผอมได้จริงหรือ
         โรคไทรอยด์มีอยู่หลาย สำหรับชนิดที่ทำให้ร่างกายของคุณอ้วนขึ้น นั่นก็คือโรคไทรอยด์ชนิดอ้วน หรือภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroid) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกกมาน้อย ทำให้ร่างกายเกิดอาการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ จึงมีการ เผาผลาญพลังงานน้อยกว่าปกตินั่นเอง อาการโรคไทรอยด์ชนิดอ้วน นอกจากจะน้ำหนักขึ้น อ้วนฉุ และยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เฉื่อยชา เบื่อ ขี้เกียจ ไม่อยากทำอะไร ง่วงนอนบ่อย ขี้หนาว ผมร่วง เหนื่อยง่าย ทำอะไรไม่ค่อยไหว ท้องผูก บางรายประจำเดือนมากกว่าปกติ เป็นต้น

         ทั้งนี้ อาการของภาวะพร่องไทรอยด์ จะแตกต่างจากอาการที่ร่างกายอ้วนขึ้นจากอาการบวมน้ำ โดยร่างกายได้เก็บสะสมน้ำไว้ตามอวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แขน ต้นขา ใบหน้า ไม่ยอมถูกขับออกจากร่างกาย ที่เป็นอย่างนี้มีสาเหตุอยู่หลายข้อ เช่น ภาวะนอนหลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ดื่มน้ำน้อย กินอาหารที่มีรสเค้ม มีโซเดียมมาก หรืออาหารสำเร็จรูปต่างๆ

โรคไทรอยด์ ไม่ได้ทำให้ร่างกายของเราอ้วนขึ้นอย่างเดียวเท่านั้น
         ยังมีโรคไทรอยด์อีกชนิดหนึ่ง ได้แก่ โรคไทรอยด์ชนิดผอม หรือ ภาวะไทรอยด์เป็นพา (Hyperthyroid) ที่เกิดจากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการของภาวะฮอร์โมนเกิน ร่างกายจึงมีการเผาผลาญพลังงานมากกว่าปกติ โรค Graves’ disease เป็นภาวะไทรอยด์เป็นพิษที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยอายุระหว่าง 30-50 ปี และพบในหญิงมากกว่าชาย 7- 10 เท่า

ส่วนคนที่กำลังประสบปัญหาผอมลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
         ยิ่งชั่งน้ำหนักยิ่งลดจนเริ่มไม่แน่ใจกว่าตัวเองเป็นโรคไทรอยด์ชนิดยอม หรือ อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซา กันแน่ ข้อแตกต่างระหว่าง 2 โรค แยกแยะได้ง่ายๆ เนื่องจากภาวะร่างกายซูบผอมจาก อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซา (Anorexia nervosa) นั้น คือ เป็นความผิดปกติ นั้น คือ เป็นความผิดปกติทางจิตใจชนิดหนึ่ง โดยมีความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับน้ำหนักแลละรูปร่างตัวเองทำให้มีการอดอาหาร หรือไม่สามารถรับประทานอาหารไดเป็นปกติเป็นเวลานาน เพราะกลัวน้ำหนักจะขึ้นจำทำให้รูปร่างเสียไป ต่างจากคนที่เป็นไทรอยด์ชนิดผอม ซึ่งจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ใจสั่น มือสั่น ขี้โมโห เครียดง่าย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หิวบ่อย กินเก่ง แต่น้ำหนักไม่ขึ้นอุจจาระบ่อยขึ้นแต่ไม่เป็นแบบท้องเสีย ประจำเดือนน้อยลงหรือขาดหายไป บางรายตาโปนขึ้น

 วิธีการรักษาอาการไทยรอยด์ผิดปกติทำอย่างไรบ้าง
          ไทรอยด์ปัจจุบันสามารถรักษาได้หลายวี ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงในอาการของผู้ป่วยจากถึงลักษณะของโรค
          1)  การรักษาโดยการรับประทานยาที่มีฤทธิ์ไประงับการสร้างฮอร์โมน
          2การผ่าตัดต่อมไทรอยด์
          3การรับประทานน้ำแร่ไอโอดีนชนิดที่มีการปล่อยกัมมันตรังสีออกมาเมื่อต้องการให้รังสีไปทำลายต่อมไทรอยด์ที่เกินออกมา ซึ่งรังสีนี้ออกมา ซึ่งรังสีนี้จะทำงานโดยตรงกับต่อมไทรอยด์ จึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
          4ส่วนไทรอยด์ต่ำ รักษาโดยการเสริมฮอร์โมนให้ระดับเป็นปกติ